สกรีนแพคเกจ คืออะไร มีกี่แบบ แต่ละแบบเหมาะกับ Package ไหนบ้าง?

สกรีนแพคเกจ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ใชเพียงแค่ Packaging เท่านั้น แต่สินค้าประเภทอื่น ๆ ก็มีการนำงานพิมพ์สกรีนเข้ามามีบทบาทในการนำเสนอสินค้าด้วยเช่นกัน ซึ่งงานสกรีน ในแต่ละประเภทนั้น จะมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน ฉะนั้นแล้ว จึงควรคำนึงถึง การเลือกเครื่องสกรีน ให้เหมาะสมกับประเภทที่ต้องใช้งาน จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาเปลี่ยนเครื่องกันบ่อยๆ และใช้ เครื่องสกรีน ได้ถูกลักษณะของงาน ทำให้ชิ้นงานออกมาได้คุณภาพอย่างที่ใจนึก ในวันนี้ Plastic Park จะนำทุกคนมาทำความรู้จักกับงานสกรีนสำหรับบรรจุภัณฑ์กันค่ะ

สกรีนแพคเกจ คืออะไร มีกี่แบบ แต่ละแบบเหมาะกับ Package ไหนบ้าง?

สกรีนแพคเกจ คืออะไร มีกี่แบบ แบบไหนเหมาะกับบรรจุภัณฑ์แบบใดบ้าง?

การสกรีน ในปัจจุบันนี้ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก เเละด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันยังสามารถให้คุณสกรีนได้บนสิ่งของหลาย ๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า หมวก หรือเเม้กระทั่ง รองเท้า เเละสิ่งของต่าง ๆ อีกมากมายที่ได้รับความนิยมไม่เเพ้กัน เเต่ในการสกรีนเหล่านั้น คุณคงยังไม่รู้ว่า จริง ๆ เเล้วการสกรีนมันมีกี่ประเภท เเล้ว ประเภทการสกรีน เเบบไหนที่จะเหมาะกับงานของคุณมากที่สุด ในบทความนี้เรามาทำความเข้าใจพร้อม ๆ กัน

ทำความรู้จัก “งานสกรีน” คืออะไร ทำไมจึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน

การสกรีน คือ การปาดสีหรือหมึกพิมพ์ผ่านผ้าสกรีนที่ขึงบนกรอบที่ทำขึ้น มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ลงไปบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ลวดลายลงไป ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์ช่วยให้สามารถพิมพ์ลงไปบนวัตถุที่มีรูปทรงแตกต่างกันได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะมีรูปทรงแบน กลม หรือเป็นสี่เหลี่ยมก็สามารถใช้การปาดหมึกพิมพ์ผ่านผ้าสกรีนลงไปติดกับวัตถุเป้าหมายเหล่านั้น
โดยปริมาณของหมึกพิมพ์นั้นจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลวดลายที่ต้องการพิมพ์ประทับลงไปบนวัตถุ หากมีลวดลายมากก็ใช้สีหรือหมึกพิมพ์มากขึ้น สำหรับวัตถุที่สามารถพิมพ์ลวดลายลงไปได้นั้นครอบคลุมทั้งกระดาษ ผ้า ไม้ กระจก กระเบื้อง เซรามิค โลหะ พลาสติก ตลอดจนสติกเกอร์ต่าง ๆ เรียกได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีการสกรีนได้รุดหน้าไปมากจนสามารถสกรีนลงไปบนวัตถุแทบทุกชนิด โดยใช้เวลาไม่นาน

เหตุผลที่ต้อง สกรีน สินค้าผลิตภัณฑ์

หลายท่านอาจจะยังนึกภาพไม่ออกว่าทำไมต้องใช้บริการโรงสกรีนเพื่อ สกรีน สินค้าผลิตภัณฑ์ ซึ่งการสกรีนสินค้านั้นถือได้ว่าเป็นการสร้างแบรนด์อย่างหนึ่ง หากเราต้องการทำตลาดในระยะยาว อยากให้ลูกค้าของเรารู้จักสินค้าของเราและมีการบอกต่อ เราจะต้องใช้บริการโรงสกรีนเพื่อสกรีนโลโก้ในสินค้าที่เราขาย ซึ่งลูกค้าจะจดจำโลโก้ของเรา เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกค้าที่ใช้สินค้าของเราเริ่มเห็นว่าสินค้าของเรามีคุณภาพจริงๆ เมื่อใช้ไปสักระยะแล้วรู้สึกว่าทนทานไม่เสียหายได้ง่าย ก็มักจะจดจำโลโก้ของเราและบอกต่อได้เอง จึงทำให้เราไม่จำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์อะไรมากมาย สุดท้ายแล้วหากสินค้าของเรามีคุณภาพดีจริง ลูกค้าจะบอกต่อกันเอง แต่อย่าลืมว่าการใช้บริการโรงสกรีนเพื่อสกรีนโลโก้สินค้าเอาไว้มีความสำคัญ เพราะหากสินค้าของเราไม่มีการสกรีนโลโก้เอาไว้แน่นอนว่าแม้สินค้าของเราจะมีคุณภาพดีสักแค่ไหน สุดท้ายลูกค้าก็ไม่รู้ว่าสินค้าแบรนด์อะไรและไม่ได้บอกต่อ
ทำให้เราไม่สามารถขยายตลาดได้ รวมทั้งยังไม่สามารถทำตลาดในระยะยาวได้อีกด้วย ดังนั้นหากอยากให้สินค้าของเราติดตลาดและมีคนบอกต่อเรื่อยๆ การใช้บริการโรงสกรีนเพื่อสกรีนโลโก้ลงในสินค้าของเรา ก็จะช่วยได้ค่อนข้างมาก ยิ่งถ้าใครมีความคิดที่จะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพอยู่แล้ว การสกรีนก็จะช่วยให้สินค้าของท่านติดตลาดในระยะยาวได้ไม่ยากเลย

3 แบบงานพิมพ์สกรีนบรรจุภัณฑ์ที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้จัก

ประเภทการสกรีน เเต่ละประเภทก็จะมีความเหมาะสมในเเต่ละชนิดของงาน ซึ่งในบทความนี้นี้เราเเบ่งหัวข้อเป็น 3 หัวข้อเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจกันอย่างง่าย ๆ ด้วยกัน เเละประเภทของการสกรีนจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

1. ระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen)

ซิลค์สกรีน เป็นการพิมพ์โดยปาดสีให้ผ่านบล็อคสกรีน ต้องทำบล็อคสกรีนขึ้นมา ใช้พิมพ์รอบขวดกลม จำกัดการพิมพ์ที่2สี เพราะถ้าพิมพ์มากกว่า2สีจะมีความผิดพลาดมาก ถ้าต้องการพิมพ์มากกว่า 2 สีให้ใช้วิธีการสกรีนแบบอื่นจะดีกว่า และการพิมพ์ 2 สีต้องดูด้วยว่าบรรจุภัณฑ์มีจุดที่สามารถมาร์กเพื่อพิมพ์2สีได้หรือไม่ ถ้าบรรจุภัณฑ์ไม่มีจุดมาร์กก็สามารถพิมพ์ได้สีเดียวเท่านั้น

2.แพดพริ้นท์ติ้ง (Pad Printing)

เป็นการสกรีนโดยเครื่อง Pad Printing ต้องทำเพลทเหล็กเป็นแม่พิมพ์ แล้วใช้ลูกยางซิลิโคนดูดสีขึ้นมา จากนั้นปั้มลงไปที่บรรจุภัณฑ์ โดยสามารถสกรีนได้มากถึง4สี แต่จะมีพื้นที่การสกรีนที่ไม่ใหญ่มาก และพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่มีผิวโค้งมากไม่ได้ นิยมใช้พิมพ์สกรีนกระปุก หลอดบรรจุภัณฑ์และของพรีเมียมต่าง ๆ

3.พิมพ์ลงบรรจุภัณฑ์โดยตรง ด้วยหมึก UV

เป็นเครื่องพิมพ์ระบบ UV ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพิมพ์สีลงไปที่วัสดุโดยตรง สามารถพิมพ์ได้4สีCMYK สีที่พิมพ์ออกมาจะมีความติดทนนาน สีจะมีลักษณะด้านๆดูนูนๆ ความคมชัดจะไม่เท่ากับการสกรีนแบบซิลค์สกรีนหรือแพดพริ้นท์ติ้ง แต่มีความยืดหยุ่นกว่าในการพิมพ์แม้จะบรรจุเนื้อครีมมาแล้วก็สามารถเอามาพิมพ์ทีหลังได้ ข้อจำกัดคือ พิมพ์ในวัสดุที่มีพื้นที่โค้งมาก ๆ ไม่ได้ รวมถึงคือมีราคาค่อนข้างแพง

ขั้นตอนการสกรีน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

สำหรับกระบวนการสกรีนนั้น โดยหลักการแล้วจะประกอบด้วย 3 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ การเตรียมแม่พิมพ์สกรีน, การสร้างแม่พิมพ์สำหรับการสกรีน และการพิมพ์สกรีน ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความชำนาญและระยะเวลาในการทำงานพอสมควร สามารถอธิบายขั้นตอนโดยสังเขปได้ ดังนี้

1. การเตรียมแม่พิมพ์สกรีน

ขั้นตอนนี้จะเริ่มต้นด้วยการขึงสกรีนเพื่อทำกรอบสกรีน ปกติแล้วการขึงสกรีนนั้นสามารถทำได้สองวิธีด้วยกัน ได้แก่ การขึงสกรีนด้วยมือ และการขึงสกรีนด้วยเครื่องมือ การขึงสกรีนด้วยมือนิยมใช้สำหรับการทำกรอบสกรีนไม้ ขณะที่การขึงสกรีนด้วยเครื่องมือนั้นจะใช้สำหรับการพิมพ์หลายสี และการพิมพ์งานที่ต้องการความละเอียดมาก โดยเฉพาะงานพิมพ์ที่ใช้ในการอุตสาหกรรม
การขึงสกรีนนั้นนับว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เนื่องจากหากขึงสกรีนไม่ดีและทำให้ความตึงของผ้าไม่เท่ากันจะส่งผลโดยตรงต่อภาพพิมพ์ที่ประทับลงไปบนวัตถุ อาจก่อให้เกิดความบิดเบี้ยวหรือความคลาดเคลื่อนไปจากแบบที่ต้องการได้ เพราะฉะนั้น การขึงสกรีนจึงจำเป็นที่จะต้องมีการกำกับดูแลขั้นตอนนี้อย่างประณีตบรรจงเพื่อให้สามารถสกรีนภาพออกมาได้อย่างปราศจากปัญหานั่นเอง
นอกจากนั้น ขั้นตอนของการเตรียมแม่พิมพ์สกรีนยังหมายรวมถึงการทำความสะอาดสกรีนด้วย ซึ่งอาจจะใช้ผ้าขนหนูทำความสะอาดหรือล้างน้ำเปล่าแล้วเช็ดให้แห้งก็ได้เช่นกัน

2. การสร้างแม่พิมพ์สกรีน

สำหรับขั้นตอนนี้นั้นมีความละเอียดอ่อนมากพอสมควร เพราะมีความสำคัญต่อคุณภาพของงานกรีนที่ออกมา โดยปัจจุบันการทำแม่พิมพ์สกรีนนั้นจะนิยมแบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่ การสร้างแม่พิมพ์โดยไม่ใช้แสง และการสร้างแม่พิมพ์โดยวิธีถ่ายด้วยแสง ซึ่งการสร้างแม่พิมพ์แต่ละแบบนั้นจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับงาน ปริมาณ คุณภาพ และงบประมาณเป็นสำคัญ

3. การพิมพ์สกรีน

ขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุด การพิมพ์สกรีนนั้นแบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ การพิมพ์แบบสีเดียว/หลายสี การพิมพ์แบบหมึกชุดสอดสี และการพิมพ์ด้วยเทคนิคพิเศษ ซึ่งการพิมพ์สกรีนแต่ละแบบนั้นจะมีความแตกต่างกันไปตามเทคนิคการใช้สี เช่น
การพิมพ์แบบสีเดียวจะใช้เทคนิคการพิมพ์สีละ 1 ครั้ง ขณะที่การพิมพ์แบบหมึกชุดสอดสีนั้นจะพิมพ์ด้วยหมึกกึ่งโปร่งแสงหลายสี ประกอบด้วย สีเหลือง สีบานเย็น สีคราม และสีดำ โดยจะใช้การพิมพ์ซ้อนให้เกิดการผสมผสานกันของหมีกสีต่าง ๆ จนกระทั่งได้ภาพพิมพ์ที่มีสีออกมาตามแบบต้นฉบับที่ต้องการ โดยสำหรับการพิมพ์ด้วยเทคนิคพิเศษนั้นจะใช้สำหรับการสกรีนบนวัตถุที่มีความซับซ้อนมากกว่าปกติ อาทิ วัตถุที่รูปทรงเป็นเกลียว ผิวโค้ง หรือพื้นผิวขรุขระ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การสกรีนแต่ละรูปแบบนั้นมีข้อดี-ข้อเสีย และระดับราคาแตกต่างกัน ผู้ที่สนใจอยากสกรีนผลิตภัณฑ์จึงควรศึกษารูปแบบของการสกรีนแต่ละระบบให้เข้าใจก่อน เพื่อให้สามารถเลือกใช้รูปแบบการสกรีนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการของคุณนั่นเอง
เทคโนโลยีการสกรีนในปัจจุบันทำให้คุณมีตัวเลือกมากมายในการสกรีนวัตถุต่าง ๆ ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้รูปแบบการสกรีนตามที่บทความนี้ได้แนะนำ เพื่อให้ได้สินค้าที่ตรงความต้องการภายใต้งบประมาณที่คุณกำหนดได้นั่นเอง

บริการพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ สกรีนขวด ไม่จำกัดจำนวนสี จาก Plastic Park

ในยุคที่การแข่งขันดุเดือดเช่นปัจจุบันนี้ เป็นเรื่องจำเป็นที่บรรดาผู้ประกอบการต่างต้องหาวิธีการสร้างจุดขายเพื่อเอาชนะคู่แข่ง สำหรับสินค้าที่มีเรื่องบรรจุภัณฑ์เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทความงาม ความสะอาด อาทิ ครีมบำรุง เซรั่ม เจล น้ำยาหรืออื่นๆ ที่ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ประเภท ขวด กระปุกครีม หลอด หลอดบีบ ตลับครีม ฯลฯ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่น สวยงาม ช่วยดึงดูดสายตาและสร้างจุดเด่นให้สินค้า นำมาซึ่งโอกาสเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น
  • เหมาะกับบรรจุภัณฑ์หลากหลาย ไม่ว่าจะสกรีนขวด กระปุก หลอด ฯลฯ
  • ออกแบบได้หลากหลาย ไม่จำกัดสี
  • เนื้อสีนูน ดูมีมิติ
  • ไม่มีค่าบล็อค
  • รับผลิตจำนวนน้อย เริ่มต้นที่ 100 ชิ้น
  • ยิ่งพิมพ์เยอะ ยิ่งถูก
  • รับประกันงานไม่ลอก
Plastic Park Store เรามีความพร้อมในการให้บริการรับงานพิมพ์ สกรีนขวด กระปุก หลอด บรรจุภัณฑ์ทุกชนิด เรามีเครื่องพิมพ์ที่ทันสมัย และทีมงานที่ช่วยดูแลงานของคุณด้วยความตั้งใจและฝีมือระดับมืออาชีพ  ช่วยให้คุณลูกค้ามั่นใจได้ว่าจะได้ผลงานที่ดีเยี่ยม สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าปลายทางได้อย่างแน่นอน