ขวดพลาสติก เรียกได้ว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมาอย่างช้านานรวมถึงได้รับเลือกให้เป็น Packaging ของสินค้าหลาย ๆ ประเภท เนื่องจากข้อดีของพลาสติกหลายอย่างที่สามารถตอบโจทย์คุณลักษณะของสินค้าบางประการได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะสินค้าในหมวดเครื่องสำอาง ครีม สบู่เหลว และผลิตภัณฑ์ประทินความงามอื่น ๆ เนื่องจากบรรจุภภัณฑ์ประเภทนี้มีหลายรูปแบบ หากเจ้าของแบรนด์เลือกให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ก็ยิ่งส่งเสริมให้สินค้าของแบรนด์ดูน่าสนใจในสายตาผู้บริโภคด้วย
ขวดพลาสติก คืออะไร เครื่องสำอางแต่ละชนิดเหมาะกับขวดรูปแบบไหนบ้าง?
หากพูดถึงขวดนั้น เราต่างทราบกันดีว่าแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งที่เราจะเห็นกันบ่อย ๆ ก็จะมีทั้งเนื้อแก้วและพลาสติก ซึ่งจากที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่า ขวดแบบเนื้อพลาสติก นั้น ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากรูปลักษณ์ที่ดูใช้งานและเข้าถึงได้ง่าย จึงทำให้มันเป็นชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่เจ้าของแบรนด์ไว้วางใจที่จะเลือกไปเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอสินค้าในตลาด ทั้งนี้ อีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้เจ้าของแบรนด์เลือกขวดชนิดนี้เป็นเพราะมีราคาถูก มีหลายขนาด และมีหลายรูปแบบให้เลือกอีกด้วย จากที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงเหตุผลส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งก่อนที่เราจะลงลึกไปกับขวดแบบพลาสติก เรามาทำความรู้จักกับบรรจุภัณฑ์กันก่อนว่าคืออะไร มีความสำคัญแค่ไหน ทำไมเจ้าของแบรนด์จึงควรเลือกอย่างรอบคอบ
บรรจุภัณฑ์ คือ…
บรรจุภัณฑ์ คือ สิ่งที่ผลิตขึ้นมาเพื่อจะนำมาห่อหุ้มสิ่งของหรือสินค้าชนิดต่างๆ เพื่อทำการปกป้องหรือป้องกันสินค้าเหล่านั้นจากการขนส่ง และยังเป็นการช่วยเก็บรักษาสินค้าจากปัจจัยภายนอกที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย ทั้งยังสามารถยืดอายุสินค้าเหล่านั้นได้ นอกเหนือจากนั้นบรรจุภัณฑ์ยังมีประโยชน์อื่นๆอีกมาก ทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เพราะฉะนั้นการใช้งานจึงอยู่ที่ความต้องการของแต่ละบุคคลนั่นเอง
หน้าที่และความสำคัญของ “บรรจุภัณฑ์”
Packaging หรือ บรรจุภัณฑ์ เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับสินค้า และคอยดึงดูดสายตาจากผู้คนได้เป็นอย่างดี ซึ่งบรรจุภัณฑ์จะมีหน้าที่ในการใช้งานแตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นบรรจุภัณฑ์จึงถูกผลิตขึ้นมาด้วยวัสดุ และขั้นตอนที่หลากหลายตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม เราสามารถสามารถสรุปความสำคัญของ Packaging เป็นรายละเอียดได้ ดังนี้
รักษาคุณภาพ และปกป้องตัวสินค้า
โดยเริ่มตั้งแต่การขนส่ง การเก็บให้ผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ไม่ให้เสียหายจากการปนเปื้อนจากฝุ่นละออง แมลง คน ความชื้นความร้อน แสงแดด
ให้ความสะดวกในเรื่องการขนส่ง
การจัดเก็บมีความรวดเร็วในการขนส่ง เพราะสามารถรวมหน่วยของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นหน่วยเดียวได้
ส่งเสริมทางด้านการตลาด
เนื่องจากแพ็คเกจจิ้งจะทำหน้าที่บอกกล่าวสิ่งต่าง ๆ ของตัวผลิตภัณฑ์โดยการบอกข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมดของตัวสินค้า และนอกจากนั้นจะต้องมีรูปลักษณ์ที่ดูดึงดูด น่าสนใจ และสวยงามสะดุดตาเชิญชวนให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้อีกด้วย
บรรจุภัณฑ์มีกี่ชนิด อะไรบ้าง?
บรรจุภัณฑ์ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายประเภท และแต่ละประเภทมีลักษณะการใช้และคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้
1.บรรจุภัณฑ์กระดาษ
บรรจุภัณฑ์จากกระดาษ นิยมใช้กันมากและยังมีหลายชนิด วัสดุที่นำมาผลิตได้แก่เยื่อกระดาษซึ่งมีทั้งเยื่อกระดาษคุณภาพ สำหรับบรรจุภัณพ์อาหารและเครื่องดื่ม เช่น แก้วกระดาษ ถ้วยกระดาษ กล่องข้าวที่สามารถย่อยสลายได้ ส่วนเยื่อกระดาษรีไซเคิล ได้แก่บรรจุภัณฑ์ประเภท กล่องลูกฟูก ถาดไข่ หรือถาดรองแก้วกาแฟ
2.บรรจุภัณฑ์โลหะ
บรรจุภัณฑ์ประเภทโลหะ เป็นบรรจุภัณฑ์ ชนิดเก่าแก่ แต่ยังคงได้รับความนิยม ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ ที่ทำมาจากโลหะนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ เช่น กระป๋องเครื่องดื่ม หรืออาหารสำเร็จรูป ถังหูหิ้ว หลอดเครื่องสำอาง อลูมิเนียมฟอยล์ หรืออลูมิเนียมแผ่นเปลว และกระป๋องฉีดพ่นต่าง ๆ
3.บรรจุภัณฑ์แก้ว
บรรจุภัณฑ์แก้วนิยมใช้กันทั่วไป เนื่องจากมีความสวยงาม มีความใสและทำเป็นสีต่างๆได้ง่ายมาก ข้อด้อยของแก้วก็คือแตกหักง่าย บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ จึงต้องใช้คู่กับเยื่อกระดาษขึ้นรูป หรือ กระดาษรังไข่ (pulp mold) เพื่อป้องกันการแตกร้าว
5.บรรจุภัณฑ์พลาสติก
บรรจุภัณฑ์พลาสติก จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ พลาสติกคงรูป และพลาสติกอ่อนตัว ทั้ง 2 ประเภทมีการนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆมากมาย เช่น ขวดพลาสติก ถ้วยและถาดพลาสติก ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์พลาสติกยังใช้ประโยชน์ได้เอนกประสงค์สามารถบรรจุอาหารร้อน อาหารสด และอาหารแช่แข็งได้
บรรจุภัณฑ์ “พลาสติก” มีกี่ชนิด?
บรรจุภัณฑ์พลาสติก เป็นประเภทที่ทุกคนต่างเคยพบเห็นและใช้งานมาแล้ว โดยตัวบรรจุภัณฑ์พลาสติกนั้นส่วนมากจะทำมาจากพลาสติกที่แบ่งออกได้เป็นหลักๆ 6 ด้วยกัน ได้แก่
ประเภทที่ 1 PP (Polypropylene)
พลาสติกประเภทนี้ หลายคนอาจคุ้นชื่อนี้เป็นอย่างดี เพราะเรานำพลาสติกประเภท PP มาใช้ในการผลิต บรรจุภัณฑ์อาหารต่าง ๆ เช่น จาน ชาม ขวดพลาสติก ขวดบรรจุยา เพราะพลาสติกประเภท PP นั้น เป็นพลาสติกที่ทนทานต่อความร้อน มีความเหนียว อีกทั้งยังทนแรงกระแทก ทนต่อน้ำมัน และสารเคมีต่าง ๆ อีกด้วย
ประเภทที่ 2 PVC (Polyvinylchloride)
พลาสติกประเภท PVC จึงได้รับความนิยมนำกลับมาใช้ใหม่ ในการผลิตขวดบรรจุน้ำมันพืช กล่องบรรจุอาหารแห้ง และสด ซึ่งจุดเด่นของ พลาสติกประเภท PVC นั้นคือ สามารถนำมาใช้แทนขวดแก้วได้ เพราะตกแล้วไม่แตก และมีน้ำหนักเบากว่าขวดแก้วมากนัก
ประเภทที่ 3 HDPE (High Density Polyethylene)
พลาสติกประเภทนี้ นำมาผลิต ขวดพลาสติกบรรจุภัณฑ์ ประเภทพวก ขวดแชมพู แกลลอนใส่น้ำยาต่าง ๆ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก เป็นต้น
ประเภทที่ 4 PET (Polyethylene terephthalate)
จุดเด่นของพลาสติก PET คือมีความใสและเหนียวสูง สามารถป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำที่มี ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดีมาก และป้องกันการซึมผ่านของไขมันได้ดี นิยมนำมาผลิตเป็นขวดพลาสติก หรือขวดน้ำมันพืช
ประเภทที่ 5 LDPE (Low Density Polyethylene)
พลาสติก ประเภท LDPE นั้น เป็นพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นได้สูง มีความเหนียว นิ่ม และใส แต่ไม่ทนความร้อน จึงนิยมน้ำมาผลิตเป็นถุงพลาสติกใช้หิ้ว พลาสติกที่ใช้แรปห่ออาหาร อีกทั้งยังสามารถนำมาผลิตเป็นหลอดได้อีกด้วย
ประเภทที่ 6 PS
เป็นพลาสติกมีลักษณะโปร่งใส มีเนื้อที่เปราะและแตกง่าย จึงนิยมน้ำมาผลิตเป็น กล่องโฟม ถ้วย และชาม เพราะมีความทนต่อกรดและด่าง
ข้อดีของ บรรจุภัณฑ์พลาสติก
ข้อดีของบรรจุภัณฑ์แบบพลาสติกนั้นมีหลายประการด้วยกัน เช่น…
- บรรจุภัณฑ์พลาสติกมีราคาที่ค่อนข้างถูก ช่วยลดต้นทุนได้
- ตัวพลาสติกมีความเหนียว น้ำหนักเบา
- พลาสติกจะไม่นำความร้อนและกระแสไฟฟ้า
- บรรจุภัณฑ์พลาสติกสามารถป้องกันการรั่วซึมของอากาศ และน้ำได้ดี
- บรรจุภัณฑ์พลาสติกยังมีความสามารถทนทานต่อความชื้นและสภาพอากาศได้ ทั้งยังไม่เป็นสนิม
- สามารถพิมพ์ลวดลายต่างๆลงบนบรรจุภัณฑ์ได้เช่นกัน
ขวดพลาสติกมีกี่ขนาด แต่ละขนาดต่างกันยังไง?
ขวดพลาสติกใส เหมาะสำหรับบรรจุของเหลว น้ำผลไม้ ชา กาแฟ โลชั่น เครื่องสําอาง เจลแอลกอฮอล์ หรือสินค้าอื่น ๆ ตามต้องการซึ่งจะมีหลายขนาดด้วยกัน เช่น ขวดพลาสติกขนาด 100 ml. , 120 ml., 150 ml., 200 ml., 250 ml., 360 ml. และ 450 ml. เป็นต้น ซึ่งแต่ละขนาดก็จะได้รับความนิยมและถูกใช้ให้เหมาะสมกับสินค้าที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ต้องมีการคำนึงถึงการบริโภคของลูกค้าด้วยว่าจะสะดวกแก่ผู้ใช้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งทุก ๆ อย่างสัมพันธ์กันทั้งหมด
ตัวอย่างขวดชนิดเนื้อพลาสติกที่นำมาเป็นเครื่องบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง
สำหรับเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ประทินผิวนั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบกระปุก แบบหลอด และขวด ซึ่งแบบขวด
ขวดดรอปเปอร์
เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดปานกลางถึงน้อย เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเซรั่ม หรือแอมพลู วัสดุส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติก และแก้ว
ขวดหัวปั้มมีสาย
เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดปานกลางถึงน้อย เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเซรั่ม จำพวกสบู่เหลว แชมพู ครีมนวด และโลชั่น วัสดุส่วนใหญ่ของขวดประเภทนี้จะเป็นพลาสติกโดยมาก ซึ่งจะมีต้นทุนที่ราคาถูกว่าบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอะคริลิค หรือแก้ว
ขวดหัวเหยาะ หรือขวดสเปรย์
เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดน้อยมาก จนถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำ ส่วนใหญ่จะเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์โทนเนอร์ น้ำแร่ เอสเซนต์ คลีนซิ่ง ซึ่งในกลุ่มนี้จะมีวัสดุให้เลือกลายแบบ ทั้งพลาสติก อะคริลิค หรือแม้กระทั้งขวดแก้ว
อย่างไรก็ตาม สาระความรู้ทั้งหมดที่แอดมินนำมาฝากข้างต้น อาจจะเป็นตัวช่วยสำหรับคนที่กำลังมองหาความรู้ในการเลือกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งในการเลือกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางมาสร้างแบรนด์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางที่น่าดึงดูดต่อสายตาอาจจะนำไปสู่การเพิ่มยอดขายก็เป็นได้
หากคุณกำลังมองหาโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง รับผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางราคาโรงงาน พร้อมพิมพ์บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง Plasticpark เราพร้อมให้คำแนะนำในเรื่องของบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี
Plastic Park ขายส่งบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ขวดปั๊ม กระปุกครีม หลอดครีม พร้อมพิมพ์ไม่จำกัดสี
พลาสติกพาร์ค เราเป็นตัวแทนจำหน่ายและนำเข้าบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์ทุกชนิด เช่น กระปุกครีม หลอดครีม ขวดครีม หัวปั้ม หัวสเปรย์ เรามีรูปแบบของบรรจุภัณฑ์หลากหลายกว่า 1,500 รายการ จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง ด้วยราคาจากโรงงานโดยตรง ทั้งนี้ เรามีรูปแบบของสินค้าให้เลือกมากมายกว่า 1,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็น บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง /ขวดพลาสติก/ขวดเครื่องสำอาง / กระปุกครีม / ขวดเซรั่ม /กระปุกสครับ /ตลับครีม / ขวดอโรม่า ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่จะนำไปต่อยอดสินค้าของแต่ละท่าน เพื่อสร้างความน่าสนใจ และเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่อยู่ด้านในได้อย่างลงตัว เราเชื่อว่า หากลูกค้าได้ข้อมูลที่เพียงพอ จะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ถูกต้อง ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับสินค้า และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เกณฑ์การเลือกบริษัทบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ที่เชื่อถือได้
3 สิ่งควรรู้ก่อนสั่งทำบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง
เลือกใช้กระปุกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบไหนดีนะ ?