ขวดสบู่เหลว พลาสติก ดีจริงไหม มีให้เลือกกี่แบบบ้าง?

ขวดสบู่เหลว พลาสติก ดีจริงไหม? เป็นคำถามที่เจ้าของแบรนด์จำเป็นต้องทราบคำตอบ เพราะบรรจุภัณฑ์ของสบู่เหลวนั้นมีความสำคัญมาก ๆ เพราะนอกจากจะคอยปกป้องสินค้าให้คงประสิทธิภาพเอาไว้ได้แล้ว ก็ต้องถูกออกแบบมาให้สวยงามเพื่อให้ผู้บริโภคถูกใจตั้งแต่แรกเห็นอีกด้วย ซึ่งหนึ่งในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่ถูกนำมาใช้นั้นก็คือ “ขวดพลาสติก” ที่มีคุณสมบัติมากมายในการเป็น Packaging ของสบู่เหลว รวมถึงสามารถนำมาออกแบบได้อย่างหลากหลายให้มีดีไซน์ที่น่าสนใจอีกด้วย ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไร มาดูไปพร้อม ๆ กันค่ะ

ขวดสบู่เหลว พลาสติก ดีจริงไหม มีให้เลือกกี่แบบบ้าง?

ขวดสบู่เหลว พลาสติก มีกี่ชนิด ควรเลือกแบบไหนให้เหมาะกับสินค้าของแบรนด์

สบู่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย เช่น อาบน้ำ ล้างมือ สบู่จะช่วยละลายไขมัน ทำให้การชำระล้างสะอาดขึ้น ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมีสบู่ คนในสมัยโบราณใช้มะขามเปียกในการอาบน้ำ ช่วงแรกนอกจากใช้อาบน้ำ สบู่ยังถูนำมาใช้ซักผ้าและล้างจาน เนื่องจากถูกใช้งานอย่างเอนกประสงค์ เดิมสบู่จะเป็นก้อนยาว ๆ มีขนาดใหญ่ และกลิ่นไม่หอมน่าใช้เหมือนสบู่ในปัจจุบันซึ่งเป็นสบู่เหลวที่ใช้ง่าย สามารถเข้าได้ถึงทุกซอกทุกมุมของร่างกาย และให้กลิ่นหอมที่ยาวนานกว่า จึงไม่แปลกที่ผู้บริโภคในปัจจุบันจะนิยมใช้ ซึ่งการเลือกบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้เหมาะกับสบู่เหลวของแบรนด์ก็เป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของแบรนด์ไม่ควรมองข้ามค่ะ

ชนิดของพลาสติกที่นำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์สบู่เหลว

บรรจุภัณฑ์พลาสติก เป็นประเภทที่ทุกคนต่างเคยพบเห็นและใช้งานมาแล้ว โดยตัวบรรจุภัณฑ์พลาสติกนั้นส่วนมากจะทำมาจากพลาสติกที่แบ่งออกได้เป็นหลัก ๆ 6 ด้วยกัน ได้แก่

ประเภทที่ 1 PP (Polypropylene)

พลาสติกประเภทนี้ หลายคนอาจคุ้นชื่อนี้เป็นอย่างดี เพราะเรานำพลาสติกประเภท PP มาใช้ในการผลิต บรรจุภัณฑ์อาหารต่าง ๆ เช่น จาน ชาม ขวดพลาสติก ขวดบรรจุยา เพราะพลาสติกประเภท PP นั้น เป็นพลาสติกที่ทนทานต่อความร้อน มีความเหนียว อีกทั้งยังทนแรงกระแทก ทนต่อน้ำมัน และสารเคมีต่าง ๆ อีกด้วย

ประเภทที่ 2 PVC (Polyvinylchloride)

พลาสติกประเภท PVC จึงได้รับความนิยมนำกลับมาใช้ใหม่ ในการผลิตขวดบรรจุน้ำมันพืช กล่องบรรจุอาหารแห้ง และสด ซึ่งจุดเด่นของ พลาสติกประเภท PVC นั้นคือ สามารถนำมาใช้แทนขวดแก้วได้ เพราะตกแล้วไม่แตก และมีน้ำหนักเบากว่าขวดแก้วมากนัก

ประเภทที่ 3 HDPE (High Density Polyethylene)

พลาสติกประเภทนี้ นำมาผลิต ขวดพลาสติกบรรจุภัณฑ์ ประเภทพวก ขวดแชมพู แกลลอนใส่น้ำยาต่าง ๆ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก เป็นต้น

ประเภทที่ 4 PET (Polyethylene terephthalate)

จุดเด่นของพลาสติก PET คือมีความใสและเหนียวสูง สามารถป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำที่มี ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดีมาก และป้องกันการซึมผ่านของไขมันได้ดี นิยมนำมาผลิตเป็นขวดพลาสติก หรือขวดน้ำมันพืช

ประเภทที่ 5 LDPE (Low Density Polyethylene)

พลาสติก ประเภท LDPE นั้น เป็นพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นได้สูง มีความเหนียว นิ่ม และใส แต่ไม่ทนความร้อน จึงนิยมน้ำมาผลิตเป็นถุงพลาสติกใช้หิ้ว พลาสติกที่ใช้แรปห่ออาหาร อีกทั้งยังสามารถนำมาผลิตเป็นหลอดได้อีกด้วย

ประเภทที่ 6  PS

เป็นพลาสติกมีลักษณะโปร่งใส มีเนื้อที่เปราะและแตกง่าย จึงนิยมน้ำมาผลิตเป็น กล่องโฟม ถ้วย และชาม เพราะมีความทนต่อกรดและด่าง

ข้อดีของ บรรจุภัณฑ์พลาสติก

ข้อดีของบรรจุภัณฑ์แบบพลาสติกนั้นมีหลายประการด้วยกัน เช่น…

  • บรรจุภัณฑ์พลาสติกมีราคาที่ค่อนข้างถูก ช่วยลดต้นทุนได้
  • ตัวพลาสติกมีความเหนียว น้ำหนักเบา
  • พลาสติกจะไม่นำความร้อนและกระแสไฟฟ้า
  • บรรจุภัณฑ์พลาสติกสามารถป้องกันการรั่วซึมของอากาศ และน้ำได้ดี
  • บรรจุภัณฑ์พลาสติกยังมีความสามารถทนทานต่อความชื้นและสภาพอากาศได้ ทั้งยังไม่เป็นสนิม
  • สามารถพิมพ์ลวดลายต่างๆลงบนบรรจุภัณฑ์ได้เช่นกัน

ขวดพลาสติกมีกี่ขนาด แต่ละขนาดต่างกันยังไง?

ขวดพลาสติกใส เหมาะสำหรับบรรจุของเหลว น้ำผลไม้ ชา กาแฟ โลชั่น เครื่องสําอาง เจลแอลกอฮอล์ หรือสินค้าอื่น ๆ ตามต้องการซึ่งจะมีหลายขนาดด้วยกัน เช่น ขวดพลาสติกขนาด 100 ml. , 120 ml.,  150 ml.,  200 ml., 250 ml., 360 ml. และ 450 ml. เป็นต้น ซึ่งแต่ละขนาดก็จะได้รับความนิยมและถูกใช้ให้เหมาะสมกับสินค้าที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ต้องมีการคำนึงถึงการบริโภคของลูกค้าด้วยว่าจะสะดวกแก่ผู้ใช้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งทุก ๆ อย่างสัมพันธ์กันทั้งหมด

ตัวอย่างขวดชนิดเนื้อพลาสติกที่นำมาเป็นเครื่องบรรจุภัณฑ์สบู่เหลว

สำหรับเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ประทินผิวนั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบกระปุก แบบหลอด และขวด ซึ่งแบบขวด

ขวดดรอปเปอร์

เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดปานกลางถึงน้อย เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเซรั่ม หรือแอมพลู วัสดุส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติก และแก้ว

ขวดหัวปั้มมีสาย

เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดปานกลางถึงน้อย เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเซรั่ม จำพวกสบู่เหลว แชมพู ครีมนวด และโลชั่น วัสดุส่วนใหญ่ของขวดประเภทนี้จะเป็นพลาสติกโดยมาก ซึ่งจะมีต้นทุนที่ราคาถูกว่าบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอะคริลิค หรือแก้ว

ขวดหัวเหยาะ หรือขวดสเปรย์

เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดน้อยมาก จนถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำ ส่วนใหญ่จะเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์โทนเนอร์ น้ำแร่ เอสเซนต์ คลีนซิ่ง ซึ่งในกลุ่มนี้จะมีวัสดุให้เลือกลายแบบ ทั้งพลาสติก อะคริลิค หรือแม้กระทั้งขวดแก้ว

อย่างไรก็ตาม สาระความรู้ทั้งหมดที่แอดมินนำมาฝากข้างต้น อาจจะเป็นตัวช่วยสำหรับคนที่กำลังมองหาความรู้ในการเลือกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งในการเลือกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางมาสร้างแบรนด์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางที่น่าดึงดูดต่อสายตาอาจจะนำไปสู่การเพิ่มยอดขายก็เป็นได้

หากคุณกำลังมองหาโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง รับผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางราคาโรงงาน พร้อมพิมพ์บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง Plasticpark เราพร้อมให้คำแนะนำในเรื่องของบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี

Plastic Park ขายส่งบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ขวดปั๊ม กระปุกครีม หลอดครีม พร้อมพิมพ์ไม่จำกัดสี

พลาสติกพาร์ค เราเป็นตัวแทนจำหน่ายและนำเข้าบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์ทุกชนิด เช่น กระปุกครีม หลอดครีม ขวดครีม หัวปั้ม หัวสเปรย์ เรามีรูปแบบของบรรจุภัณฑ์หลากหลายกว่า 1,500 รายการ จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง ด้วยราคาจากโรงงานโดยตรง ทั้งนี้ เรามีรูปแบบของสินค้าให้เลือกมากมายกว่า 1,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็น บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง /ขวดพลาสติก/ขวดเครื่องสำอาง / กระปุกครีม / ขวดเซรั่ม /กระปุกสครับ /ตลับครีม / ขวดอโรม่า ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่จะนำไปต่อยอดสินค้าของแต่ละท่าน เพื่อสร้างความน่าสนใจ และเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่อยู่ด้านในได้อย่างลงตัว เราเชื่อว่า หากลูกค้าได้ข้อมูลที่เพียงพอ จะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ถูกต้อง ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับสินค้า และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เกณฑ์การเลือกบริษัทบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ที่เชื่อถือได้

3 สิ่งควรรู้ก่อนสั่งทำบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง

เลือกใช้กระปุกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบไหนดีนะ ?