Spray bottle เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวันอยู่ตลอด และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ใช้เป็นขวดสเปรย์แอลกอฮอล์ ขวดสเปรย์น้ำแร่ ขวดสเปรย์น้ำมัน ขวดสเปรย์บรรจุตัวยา ขวดสเปรย์น้ำยาหรือสารเคมี และขวดสเปรย์น้ำหอม เป็นต้น สำหรับเจ้าของแบรนด์ท่านใดที่กำลังมองหาขวดสเปรย์ไปใส่ผลิตภัณฑ์ บทความนี้เราจะไปทำความรู้จักกับขวดสเปรย์และหัวสเปรย์ประเภทต่าง ๆ เพื่อชี้เป้าให้ทุก ๆ คนสามารถนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสมไปพร้อม ๆ กันค่ะ
Spray bottle มีแบบไหนบ้าง? เจาะลึกวิธีเลือกแพคเกจจิ้งยอดนิยมประเภทนี้ที่เจ้าของแบรนด์ต้องรู้
ขวดสเปรย์แบบพลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์ยอดนิยมที่เจ้าของแบรนด์หลายรายเลือกใช้ เพราะสามารถนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น สเปรย์แอลกอฮอล์, น้ำแร่, โทนเนอร์, น้ำหอม, น้ำยาฆ่าเชื้อ, หรือผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม อย่างไรก็ตาม การเลือกขวดสเปรย์ให้เหมาะกับสินค้าไม่ใช่เพียงแค่ดูจากรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาหลายปัจจัยร่วมกันเพื่อให้ตอบโจทย์ทั้งในด้านฟังก์ชันและภาพลักษณ์ของแบรนด์ โดยในบทความนี้ Plastic Park จะพาเจ้าของแบรนด์มือใหม่หรือผู้ที่กำลังมองหาบรรจุภัณฑ์ มาทำความเข้าใจว่า ควรเลือกขวดสเปรย์แบบพลาสติกอย่างไรให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และกลุ่มเป้าหมายมากที่สุดค่ะ
มาดูกันก่อน! ส่วนประกอบของขวดสเปรย์ มีอะไรบ้าง?
ขวดสเปรย์ ประกอบไปด้วย ขวดทรงกระบอกและส่วนของหัวฉีด โดยขวดสเปรย์นั้นได้ถูกคิดค้นขึ้นมาในช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 พัฒนามาจากหัวปั๊มจากวัสดุยาง ที่มีลักษณะเป็นหลอดบีบหรือหลอดกระเปาะยาง ซึ่งใช้กระบวนการทำให้อากาศไหลผ่านและดูดของเหลวออกไปอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นละอองฝอย
ต่อมาเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ได้เกิดการผลิตวัสดุประเภทพลาสติกขึ้นเป็นจำนวนมาก พลาสติก จึงถูกนำมาใช้งานกับขวดสเปรย์ ทั้งส่วนที่เป็นหลอดหัวฉีดและบริเวณขวดทรงกระบอก แต่สำหรับขวดสเปรย์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้นจะใช้หลักการของปั๊มแบบ positive displacement pump หรือที่เรียกว่าการปั๊มแบบแทนที่ ทำให้มีขนาดเล็กลง เกิดการใช้งานได้สะดวกสบาย รวมถึงมีน้ำหนักเบา จนสามารถพกพาได้ง่าย
ลักษณะของ ขวดสเปรย์ ที่มีคุณภาพ
สามารถแบ่งออกได้หลายข้อด้วยกัน เช่น…
สามารถพ่นฝอยละอองที่มีความละเอียดและมีปริมาณสม่ำเสมอ
เรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับประสิทธิภาพในการใช้งานสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในที่จะต้องออกมาในปริมาณที่พอเหมาะไม่มากหรือน้อยไป และต้องมีความกระจายตัวของฝอยละอองที่ดี
ฝาขวดต้องไม่มีการรั่วซึม
เนื่องจากสิ่งที่บรรจุภายในเป็นของเหลว หากว่าฝาขวดไม่สามารถปิดสนิท ย่อมมีการรั่วซึมออกมาของสารภายใน ซึ่งมีผลอย่างมากในการขนส่ง หรือ พกพาไปใช้งาน
ต้องสามารถทนการกัดกร่อน หรือ ทำละลาย ของสารที่บรรจุอยู่ภายในได้อย่างสมบูรณ์
เป็นเรื่องของการเลือกชนิดวัสดุหรือเกรดของวัสดุที่ใช้ทำขวด ที่จะต้องทนต่อการทำละลายของสารที่เราบรรจุเข้าไป ไม่เช่นนั้นย่อมจะมีการปนเปื้อนในสารที่เราต้องการส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งอาจจะร้ายแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค
ขวดสเปรย์เหมาะกับผลิตภัณฑ์แบบใด?
ขวดสเปรย์ เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดน้อยมาก จนถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำ ส่วนใหญ่จะเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์โทนเนอร์ น้ำแร่ เอสเซนต์ คลีนซิ่ง ซึ่งในกลุ่มนี้จะมีวัสดุให้เลือกลายแบบ ทั้งพลาสติก อะคริลิค หรือแม้กระทั้งขวดแก้ว
ขวดสเปรย์แบบพลาสติก มีแบบไหนบ้าง?
ขวดสเปรย์นั้นมีมากมายหลายแบบ แต่สำหรับแบบพลาสติกนั้น ที่เราเห็นกันบ่อย ๆ จะเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ..
ขวดสเปรย์ PET
ขวดสเปรย์ PET คือขวดสเปรย์ที่ใช้วัสดุ Polyethylene Terepthalate (PET) โดยขวดสเปรย์ประเภทนี้มีข้อดีที่มีน้ำหนักเบา สามารถนำไปรีไซเคิลไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีราคาถูก จึงนิยมนำไปใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมไปถึงในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ที่สารเคมีเป็นส่วนประกอบ เพราะขวดสเปรย์ PET นั้นยังมีคุณสมบัติในการป้องกันแสงแดด อุณหภูมิ และออกซิเจนภายนอกได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ของเหลวภายในยังคงสภาพที่ดีและปลอดภัยต่อการใช้งานอยู่

ขวดสเปรย์แบบแฟชั่น
สำหรับขวดสเปรย์แบบแฟชั่นนั้น มีทั้งแบบขวดสเปรย์การ์ด , ขวดสเปรย์ไฟแช็ก , ขวดสเปรย์แบน, ขวดสเปรย์อิปซ่า, ขวดสเปรย์พาสเทล และขวดสเปรย์ทรงระฆัง เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบเพื่อความสวยงามและความเหมาะสมในการใช้งาน โดยจุดเด่นของขวดสเปรย์แฟชั่นนั้น คือสามารถนำไปบรรจุของเหลวได้หลากหลาย พร้อมกับความสวยงามทางด้านรูปทรง รวมถึงยังสามารถออกแบบเพิ่มเติมด้วยการเพิ่มสีสัน เพ้นท์ลาย สกรีนลายต่าง ๆ หรือตกแต่งด้วยสติกเกอร์ก็ทำได้ง่ายได้ ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าและดึงดูดความสนใจของผู้คนมาสู่ผลิตภัณฑ์ของคุณได้
อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าขวดสเปรย์นั้นมีประเภทที่หลากหลาย พร้อมกับรูปทรงมากมายที่ให้เลือกสรร หากผู้ที่สนใจต้องการนำไปใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ อาจจะต้องพิจารณาจากประเภทของเหลวที่ต้องการนำมาบรรจุ คุณสมบัติ และจุดประสงค์ในการใช้งานให้แน่ชัด เพราะแต่ละประเภทนั้นจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ดังนั้น เจ้าของแบรนด์ต้องมีความใส่ใจรายละเอียดในการเลือกใช้เพื่อให้ได้ขวดสเปรย์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ของตนเอง
6 วิธีเลือกขวดสเปรย์ให้เหมาะสมกับสินค้า มาดูกันว่าเลือกจากอะไรบ้าง?
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นค่ะว่า ขวดสเปรย์พลาสติกนั้นมีประเภทที่หลากหลาย โดยสำหรับเจ้าของแบรนด์มือใหม่อาจนำปัจจัยเบื้องต้นต่าง ๆ เหล่านี้ไปประกอบการตัดสินใจร่วมด้วยค่ะ…
1. เลือกขวดสเปรย์ตามประเภทของสินค้า
แต่ละผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกัน การเลือกขวดสเปรย์จึงต้องพิจารณาว่า ตัวพลาสติกและหัวฉีดสามารถรองรับเนื้อผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ เช่น…
- ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์สูง: ควรเลือกขวดที่ผลิตจาก PET หรือ HDPE ซึ่งมีความทนทานต่อแอลกอฮอล์และสารระเหย ไม่ทำให้ขวดเปลี่ยนรูปหรือเสื่อมสภาพเร็ว
- ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า เช่น น้ำแร่หรือโทนเนอร์: แนะนำขวดพลาสติกแบบใส เพื่อให้เห็นปริมาณภายใน และเพิ่มความรู้สึกโปร่งใส น่าเชื่อถือ
- ผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นในบริเวณกว้าง เช่น สเปรย์ทำความสะอาดพื้นผิว: ควรเลือกหัวฉีดแบบ trigger spray หรือหัวสเปรย์ที่ควบคุมทิศทางได้ดี
2. ขนาดและปริมาณของขวด ต้องสอดคล้องกับการใช้งาน
ขนาดของขวดสเปรย์ควรตอบโจทย์ทั้งในด้านปริมาณการใช้และความสะดวกของผู้บริโภค เช่น…
- ขนาดเล็ก (30–100 ml): เหมาะสำหรับสินค้าพกพา เช่น สเปรย์แอลกอฮอล์ หรือโทนเนอร์ขนาดทดลอง
- ขนาดกลาง (120–250 ml): เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นประจำ เช่น น้ำแร่ สเปรย์ผม หรือผลิตภัณฑ์ดูแลบ้าน
- ขนาดใหญ่ (300 ml ขึ้นไป): เหมาะกับการใช้งานในบ้านหรือสำนักงาน เช่น น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในปริมาณมาก
3. รูปทรงและดีไซน์ของขวด ส่งผลต่อภาพลักษณ์แบรนด์
ขวดสเปรย์ที่มีดีไซน์สวยงาม ทันสมัย จะช่วยให้แบรนด์ดูน่าเชื่อถือและสร้างความประทับใจแรกพบกับลูกค้า การเลือกทรงของขวดจึงควรพิจารณาองค์ประกอบต่อไปนี้ค่ะ…
- ความโค้งมนหรือเหลี่ยมของขวด: ทรงมนมักให้ความรู้สึกอ่อนโยน เหมาะกับผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ส่วนทรงเหลี่ยมให้ความรู้สึกทันสมัย แข็งแรง เหมาะกับสินค้าทำความสะอาดหรือกลุ่มยูนิเซ็กซ์
- สีของขวด: ขวดใสหรือขวดสีชาให้ภาพลักษณ์ที่ดูสะอาดและเรียบง่าย ส่วนขวดสีขุ่นหรือทึบแสงอาจเหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการป้องกันแสงหรือเพิ่มความพรีเมียม
- ขนาดมือจับ: หากกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิง อาจเลือกขวดที่จับถนัดมือ น้ำหนักเบา และใช้งานง่าย
4. หัวสเปรย์ควรตอบสนองต่อประสบการณ์การใช้งาน
หัวสเปรย์ถือเป็นหัวใจสำคัญของขวดประเภทนี้เลยค่ะ ซึ่งหากหัวฉีดทำงานได้ไม่ดี ก็อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสินค้าและความพึงพอใจของลูกค้าด้วยเช่นกัน ดังนั้น หัวขวดสเปรย์ควรมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ด้วย…
- สเปรย์ละอองละเอียด: เหมาะกับผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เช่น น้ำแร่ สเปรย์หน้า
- หัวฉีดแบบปรับระดับ: เหมาะกับสินค้าในครัวเรือนที่ต้องการการฉีดพ่นหลากหลายรูปแบบ
- หัวสเปรย์ล็อกได้: เหมาะกับสินค้าพกพา ป้องกันการรั่วซึม
5. คำนึงถึงงบประมาณและต้นทุนการผลิต
แม้การเลือกขวดสเปรย์จะมีปัจจัยหลายด้านให้พิจารณา แต่เจ้าของแบรนด์ควรคำนวณต้นทุนต่อหน่วยให้เหมาะสมกับราคาสินค้าและระดับของตลาดเป้าหมาย เช่น…
- หากเป็นแบรนด์ตลาดกลางถึงพรีเมียม อาจเลือกขวดคุณภาพสูงและดีไซน์เฉพาะตัว
- หากเป็นสินค้า mass หรือ OEM อาจเน้นขวดมาตรฐานที่สามารถผลิตได้ในจำนวนมาก เพื่อลดต้นทุน
6. เลือกโรงงานหรือซัพพลายเออร์ที่น่าเชื่อถือ
สุดท้ายแล้ว ขวดสเปรย์ที่ดีต้องมาจากผู้ผลิตที่เข้าใจความต้องการของแบรนด์ และสามารถให้คำแนะนำเรื่องวัสดุ หัวสเปรย์ หรือการผลิตในปริมาณมากได้อย่างมืออาชีพ อย่าลืมตรวจสอบประสบการณ์ของโรงงาน ตัวอย่างสินค้า และบริการหลังการขายก่อนตัดสินใจ
จากข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับขวดสเปรย์ที่กล่าวมา ขอย้ำอีกครั้งค่ะว่า การเลือกขวดสเปรย์ให้เหมาะสมกับสินค้าไม่ใช่แค่เรื่องดีไซน์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงฟังก์ชัน ความปลอดภัย และต้นทุนที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายด้วยค่ะ ดังนั้น เจ้าของแบรนด์จึงควรใส่ใจทั้งวัสดุ ขนาด หัวฉีด และภาพลักษณ์โดยรวม เพื่อให้สินค้ามีความโดดเด่นและใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน การเลือกขวดที่ดีจึงเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างแท้จริงนะคะ
Plastic Park ขายส่งบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ขวดปั๊ม กระปุกครีม หลอดครีม พร้อมพิมพ์ไม่จำกัดสี
พลาสติกพาร์ค เราเป็นตัวแทนจำหน่ายและนำเข้าบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์ทุกชนิด เช่น กระปุกครีม หลอดครีม ขวดครีม หัวปั้ม หัวสเปรย์ เรามีรูปแบบของบรรจุภัณฑ์หลากหลายกว่า 1,500 รายการ จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง ด้วยราคาจากโรงงานโดยตรง ทั้งนี้ เรามีรูปแบบของสินค้าให้เลือกมากมายกว่า 1,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็น บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง /ขวดพลาสติก/ขวดเครื่องสำอาง / กระปุกครีม / ขวดเซรั่ม /กระปุกสครับ /ตลับครีม / ขวดอโรม่า ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่จะนำไปต่อยอดสินค้าของแต่ละท่าน เพื่อสร้างความน่าสนใจ และเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่อยู่ด้านในได้อย่างลงตัว เราเชื่อว่า หากลูกค้าได้ข้อมูลที่เพียงพอ จะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ถูกต้อง ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับสินค้า และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เกณฑ์การเลือกบริษัทบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ที่เชื่อถือได้
3 สิ่งควรรู้ก่อนสั่งทำบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง
เลือกใช้กระปุกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบไหนดีนะ ?