พลาสติก pp ทนความร้อน ได้แค่ไหน เหมาะกับบรรจุสินค้าชนิดใดบ้าง?

พลาสติก pp ทนความร้อน ได้มากแค่ไหน? เชื่อได้ว่าเป็นคำถามที่เจ้าของแบรนด์หลาย ๆ ท่านต้องการทราบ เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าพลาสติกนั้นมีหลายชนิด และมักถูกนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมาอย่างช้านานรวมถึงได้รับเลือกให้เป็น Packaging ของสินค้าหลาย ๆ ประเภท เนื่องจากข้อดีของพลาสติกหลายอย่างที่สามารถตอบโจทย์คุณลักษณะของสินค้าบางประการได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะสินค้าในหมวดเครื่องสำอาง ครีม สบู่เหลว และผลิตภัณฑ์ประทินความงามอื่น ๆ เนื่องจากบรรจุภภัณฑ์ประเภทนี้มีหลายรูปแบบ หากเจ้าของแบรนด์เลือกให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ก็ยิ่งส่งเสริมให้สินค้าของแบรนด์ดูน่าสนใจในสายตาผู้บริโภคด้วย หนึ่งในชนิดของพลาสติกที่นิยมคือ พลาสติก PP ซึ่งมีจุดโดดเด่นที่ทนความร้อนได้สูง ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไร มาติดตามไปพร้อม ๆ กัน

พลาสติก pp ทนความร้อน ได้แค่ไหน เหมาะกับบรรจุสินค้าชนิดใดบ้าง?

พลาสติก pp ทนความร้อน ได้แค่ไหน เหมาะกับสินค้าประเภทใดบ้าง?

ขวดพลาสติก เรียกได้ว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมาอย่างช้านานรวมถึงได้รับเลือกให้เป็น Packaging ของสินค้าหลาย ๆ ประเภท เนื่องจากข้อดีของพลาสติกหลายอย่างที่สามารถตอบโจทย์คุณลักษณะของสินค้าบางประการได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะสินค้าในหมวดเครื่องสำอาง ครีม สบู่เหลว และผลิตภัณฑ์ประทินความงามอื่น ๆ เนื่องจากบรรจุภภัณฑ์ประเภทนี้มีหลายรูปแบบ หากเจ้าของแบรนด์เลือกให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ก็ยิ่งส่งเสริมให้สินค้าของแบรนด์ดูน่าสนใจในสายตาผู้บริโภคด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับบพลาสติก PP เรามาทำความรู้จักชนิดของพลาสติกไปพร้อม ๆ กัน

7 ชนิดของพลาสติกที่นำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์

โดยทั่วไปแล้ว พลาสติกนั้นสามารถแบ่งออกได้หลายชนิดด้วยกัน โดยสำหรับชนิดที่มักถูกนำมาใช้เพื่อทำเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าจะมีหลัก ๆ ทั้งหมด 7 ชนิดด้วยกันค่ะ คือ…

  •  PET / PETE /PE พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylene Terephthalate) พลาสติกมีลักษณะ ใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี มองทะลุได้ เช่น ขวดน้ำเปล่า ขวดน้ำอัดลม ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น
  •  HDPE พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) บรรจุภัณฑ์พลาสติกสีขาวและสีอื่นที่เป็นสีทึบ ขวดชนิดนี้จะเหนียวและทนทานกว่า PET ยกตัวอย่างเช่น ขวดนม ขวดแชมพู ขวดน้ำยาปรับผ้านุ่ม ผลิตภัณฑ์ซักผ้า กระปุกยา เป็น
  • PVC โพลีไวนิล คลอไรด์ (Polyvinylchloride) เป็นวัสดุที่เป็นแบบแข็งหรือเป็นยาง นอกจากท่อพีวีซีที่ใช้เป็นอุปกรณ์ก่อสร้างแล้ว พวกของเล่นเด็ก ผ้าม่านห้องน้ำ แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู และหนังเทียม อีกด้วย ทั้งนี้ พลาสติกชนิดนี้มีข้อดีคือ มีความทนต่อน้ำมัน และกันกลิ่นได้ดี แต่ไม่ทนความร้อน
  • LDPE พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) เป็นฟิล์มพลาสติกที่ยืดหยุ่นได้ เช่น ถุงพลาสติกมีหูหิ้ว หลอดพลาสติก พลาสติกแรปห่ออาหาร เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน
  • PP พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เป็นพลาสติกชนิดที่ใช้มากที่สุดอีกชนิดหนึ่ง พลาสติกมีความทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมี น้ำมัน และ ปราศจากสาร BPA Free มีน้ำหนัก สามารถนำไปใช้ในไมโครเวฟได้ใช้ทำภาชนะ บรรจุอาหาร ถือว่า เป็นพลาสติก Food Grade ที่ มีความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้บรรจุ หรือสัมผัสกับอาหาร ไม่ทิ้งสารตกค้างเมื่อสัมผัสกับอาหาร เช่น กล่องใส่อาหาร ชาม จาน ถัง ตะกร้า กระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์
  • PS พอลิสไตรีน (Polystyrene) เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่าย ควรหลีกเลี่ยงในการใช้งาน เพราะย่อยสลาย และรีไซเคิลได้ยาก ตัวอย่างสินค้าที่ใช้พลาสติกชนิดนี้ เช่น แก้วน้ำชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง แผ่น CD/DVD กล่องอาหาร กล่องโฟม แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่
  • อื่นๆ (Other) ซึ่งไม่ได้ระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่เป็นพลาสติกที่นำมา หลอมใหม่ได้ อาจเป็นได้ทั้ง Poly Cabonate (pc) , Tritan (Copolyester) และอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม พลาสติกแต่ละแบบนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น จึงมักจะถูกนำมาใช้บรรจุสินค้าในกลุ่มที่แตกต่างกันออกไป อย่างพลาสติก PP ที่มีการทนความร้อนได้ค่อนข้างสูง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่นอกจากสินค้าไลน์สกินแคร์แล้ว พลาสติกชนิดนี้จะถูกนำมาใช้ทำเป็นบรรจุภัณฑ์ไลน์อาหารด้วย

พลาสติกโพลีโพรลีน หรือ พลาสติก PP คืออะไร มีคุณสมบัติโดดเด่นอย่างไรบ้าง?

โพลีโพรลีน (PP) เป็นหนึ่งในกลุ่มของเทอร์โมพลาสติก มีคุณสมบัติที่โดดเด่นหลากหลายด้าน ขึ้นรูปได้ง่าย จึงถูกนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ภายในครัวเรือนเสมอ เป็นวัสดุโครงสร้างกึ่งผลึกที่นำไปประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ ได้ดี มีความหลากหลายสูง ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารหรือขวดใส่สารเคมีจึงสามารถใช้งนได้อย่างปลอดภัย เมื่อนำมขึ้นรูปแล้วจะไม่แตกหักหรือเสียหายได้ง่ายโดยเฉพะจากความร้อน ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลาย ๆ แบรนด์จะเลือกพลาสติกชนิดนี้

อย่างไรก็ตาม นอกจากพลาสติกชนิดนี้จะสามารถขึ้นรูปโดยใช้ความร้อนได้หลายครั้ง พลาสติก PP เป็นเทอร์โมพลาสติกประเภทที่มีน้ำหนักเบาที่สุด ส่วนมากจะนิยมนำมาทำบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหาร พลาสติก PP ยังได้รับการจำแนกชนิดของพลาสติก ว่าเป็นพลาสติกประเภทที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ได้อีกด้วย

พลาสติกโพลีโพรลีน ทนความร้อนได้แค่ไหน?

จากที่ได้บอกไปว่า พลาสติกชนิดนี้จะสามารถขึ้นรูปโดยใช้ความร้อนได้หลายครั้ง เมื่อนำมขึ้นรูปแล้วจะไม่แตกหักหรือเสียหายได้ง่าย พลาสติก PP มีจุดหลอมตัวที่ 165 องศาเซลเซียส สามารถทนต่อความร้อนได้สูง จึงสามารถทนต่อการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 100 องศาได้ ทนทานต่อสารเคมี ซึ่งรวมถึงน้ำมันชนิดต่าง ๆ ด้วย

พลาสติกโพลีโพรลีน เหมาะกับผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้าง?

แม้จะดูเป็นพลาสติกธรรมดา แต่ต้องบอกก่อนว่าพลาสติก PP นั้นสามารถนำมาบรรจุสินค้าได้หลายชนิดด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น…

  1. บรรจุภัณฑ์สกินแคร์ โดยส่วนใหญ่แล้วพลาสติกที่นิยมนำมาทำมาทำเป็น Skincare Packaging จะมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ Polyethylene Terepthalate (PET) และ Polypropylene (PP) ซึ่งตัวที่มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสกินแคร์คือ PET เพราะเป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา สามารถรีไซเคิลได้ ราคาถูกกว่าแบบอื่น แถมยังช่วยป้องกันการทำลายเนื้อสกินแคร์จากแสงแดด อุณหภูมิ และออกซิเจนภายนอก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะลดประสิทธิภาพการทำงานของสกินแคร์และหมดอายุไวขึ้น
  2. ภาชนะบรรจุอาหาร นอกจากนี้ก็นำมาทำเป็นภาชนะบรรจุอาหารที่สามารถเข้าเครื่องล้างจาน และเข้าไมโครเวฟได้ นำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ต้องผ่านความร้อน เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือโจ๊กกึ่งสำเร็จรูป
  3. ขวดบรรจุสารเคมี การทนต่อสารเคมี น้ำมัน และไขมันต่าง ๆ ได้ดี พลาสติก PP จึงมีความสำคัญในการนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับเก็บสารเคมี หรือบรรจุภัณฑ์ในอุตสาหกรรมที่ต้องเจอกับความร้อนและน้ำมัน ซึ่งพลาสติก PP เป็นฉนวนความร้อนที่ดีมาก แม้อยู่ในอุณหภูมิสูง
  4. ฟิล์ม หรือ ถุงร้อน นอกจากนี้ยังมีการนำพลาสติก PP ไปลามิเนตเป็นฟิล์ม เพื่อนำไปทำถุงร้อนได้อีกด้วย และอีกคุณสมบัติเด่น คือมีความเหนียว ทนต่อแรงกระแทกและรอยขีดข่วนได้ดี จึงทำให้พลาสติก PP นิยมนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ แต่ถึงแม้จะทนต่อความร้อนได้ดี แต่พลาสติก PP กลับไม่ทนต่อความเย็น จึงไม่เหมาะกับการนำไปบรรจุอาหารประเภท Frozen Food

ซึ่งนี่เป็นเพียงตัวอย่างสินค้าที่ถูกนำมาบรรจุในบรรจุภัณฑ์พลาสติก PP เท่านั้น

Plastic Park ขายส่งบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ขวดปั๊ม กระปุกครีม หลอดครีม พร้อมพิมพ์ไม่จำกัดสี

พลาสติกพาร์ค เราเป็นตัวแทนจำหน่ายและนำเข้าบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์ทุกชนิด เช่น กระปุกครีม หลอดครีม ขวดครีม หัวปั้ม หัวสเปรย์ เรามีรูปแบบของบรรจุภัณฑ์หลากหลายกว่า 1,500 รายการ จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง ด้วยราคาจากโรงงานโดยตรง ทั้งนี้ เรามีรูปแบบของสินค้าให้เลือกมากมายกว่า 1,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็น บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง /ขวดพลาสติก/ขวดเครื่องสำอาง / กระปุกครีม / ขวดเซรั่ม /กระปุกสครับ /ตลับครีม / ขวดอโรม่า ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่จะนำไปต่อยอดสินค้าของแต่ละท่าน เพื่อสร้างความน่าสนใจ และเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่อยู่ด้านในได้อย่างลงตัว เราเชื่อว่า หากลูกค้าได้ข้อมูลที่เพียงพอ จะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ถูกต้อง ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับสินค้า และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เกณฑ์การเลือกบริษัทบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ที่เชื่อถือได้

3 สิ่งควรรู้ก่อนสั่งทำบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง

เลือกใช้กระปุกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบไหนดีนะ ?