ขวดพลาสติก และ ขวดแก้ว ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมทั้งคู่ ซึ่งวัสดุทั้ง 2 แบบก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เชื่อได้ว่าเจ้าของแบรนด์หลาย ๆ คนต้องเคยสับสนว่า แก้ว หรือ พลาสติก วัสดุแบบไหนที่ดีกว่ากัน และแบบไหนกันแน่ที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ของเรา ซึ่งในบทความนี้ Plastic Park จึงรวบรวมข้อควรรู้และข้อดี-ข้อเสียของทั้ง 2 วัสดุนี้มากฝาก เพื่อให้เจ้าของแบรนด์ทุก ๆ คนได้ลองศึกษาและมีข้อมูลเบื้องต้นเพื่อทำการพิจารณาว่าวัสดุขวดแบบไหนกันแน่ที่ดีที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ของเรา หากพร้อมแล้ว มาดูไปพร้อม ๆ กัน
ขวดพลาสติก กับ ขวดแก้ว เลือกแบบไหนดี ขวดแต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
มาทำความรู้จักขวดทั้งสองแบบให้ดีมากขึ้น
เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องรู้จักกับขวดทั้ง 2 แบบนี้มาแล้ว แต่เราจะมาทำความเข้าใจและทำความรู้จักกับขวดจาก 2 วัสดุนี้
ขวดแบบแก้ว คือ…
“ขวดแก้ว” คือบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุหลักคือ “แก้ว” ซึ่ง “แก้ว” เป็นสารอนินทรีย์มีส่วนประกอบหลักคือทรายแก้ว หินปูนบริสุทธิ์ โซดาแอซ หรือ โซเดียมคาร์บอเนต และสารเคมีอื่นๆ ที่ใช้เป็นตัวฟอกสี หรือไล่อากาศ ทั้งนี้จะมีการผสมเศษแก้วเข้าไปส่วนหนึ่ง เพื่อช่วยการหลอมละลายให้เร็วขึ้น วัตถุดิบส่วนใหญ่จะหาได้จากในประเทศทำให้ต้นทุนในการผลิตบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้มีราคาที่ถูกกว่าวัสดุอื่น
ขวดแก้วนั้น มีใช้มานานกว่า 2,500 ปี ในการผลิตขวดแก้วนั้นมีพัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันซึ่งมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการผลิตแก้วให้มีความแข็งแรงมากขึ้น ลดความเปราะจากการใช้สารเคลือบวัสดุ อีกทั้งยังทำให้ขวดแก้วมีน้ำหนักที่ลดลงด้วย
ขวดแบบพลาสติก คือ…
ข้อดีข้อเสียของขวดชนิดแก้ว VS ขวดชนิดพลาสติก
แม้จะเป็นวัสดุที่ดูเหมือนไม่มีความซับซ้อนอะไรมาก แต่ต้องบอกเลยว่าขวดทั้ง 2 ชนิดนี้มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้…
ขวดชนิดพลาสติก
ข้อดี
ข้อเสีย
ขวดชนิดแก้ว
ข้อดี
ข้อเสีย
สรุป พลาสติก หรือ แก้ว ดีกว่ากัน?
และจากข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมา ก็อาจจะยังทำให้เจ้าของแบรนด์หลาย ๆ คนยังมองภาพไม่ออกว่าสุดท้ายแล้ววัสดุแบบไหนดีกว่ากัน ซึ่ง Plastic Park ขอสรุปให้เป็น 5 ข้อ ดังนี้
1.ขวดพลาสติก น้ำหนักเบา ต้นทุนการขนส่งน้อย (ทั้งส่งไปขาย และส่งไปทิ้ง) ประหยัดน้ำมัน (ยิ่งถ้าเป็นขวดบิดได้ของน้ำทิพย์ยิ่งประหยัด)
2.ขวดพลาสติก รีไซเคิลได้**สำคัญมาก
3.ทั้ง 2 ประเภทย่อยสลายเองตามธรรมชาติไม่ได้
4.ขวดแก้วทนความร้อนสูงกว่า (แต่ก็ไม่มีใครเอาขวดพลาสติกไปโดนความร้อนมาก ๆ อยู่แล้ว)
5.การปนเปื้อนของแก้วไม่สามารถตรวจจับได้เหมือนโลหะ ดังนั้นถึงแม้ขวดแก้วจะใช้ซ้ำได้ แต่ก็เกิดอันตรายได้
โดยเมื่อพิจารณาจากจากข้อสรุปทั้งหมดแล้ว ทุกคนจะเห็นได้ว่าขวดทั้ง 2 ชนิดมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไปและสามารถหักล้างกันได้ในบางกรณี ดังนั้น การที่จะบอกได้ว่าวัสดุที่นำมาทำขวดทั้ง 2 ชนิดนี้แบบไหนดีกว่ากัน ดังนั้น เจ้าของแบรนด์จึงอาจจะต้องทำการพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าวัสดุขวดชนิดไหนที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ของทางแบรนด์มากที่สุด
Plastic Park ขายส่งบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ขวดปั๊ม กระปุกครีม หลอดครีม พร้อมพิมพ์ไม่จำกัดสี
พลาสติกพาร์ค เราเป็นตัวแทนจำหน่ายและนำเข้าบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์ทุกชนิด เช่น กระปุกครีม หลอดครีม ขวดครีม หัวปั้ม หัวสเปรย์ เรามีรูปแบบของบรรจุภัณฑ์หลากหลายกว่า 1,500 รายการ จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง ด้วยราคาจากโรงงานโดยตรง ทั้งนี้ เรามีรูปแบบของสินค้าให้เลือกมากมายกว่า 1,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็น บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง /ขวดพลาสติก/ขวดเครื่องสำอาง / กระปุกครีม / ขวดเซรั่ม /กระปุกสครับ /ตลับครีม / ขวดอโรม่า ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่จะนำไปต่อยอดสินค้าของแต่ละท่าน เพื่อสร้างความน่าสนใจ และเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่อยู่ด้านในได้อย่างลงตัว เราเชื่อว่า หากลูกค้าได้ข้อมูลที่เพียงพอ จะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ถูกต้อง ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับสินค้า และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เกณฑ์การเลือกบริษัทบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ที่เชื่อถือได้
3 สิ่งควรรู้ก่อนสั่งทำบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง
เลือกใช้กระปุกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบไหนดีนะ ?