แพคเกจจิ้ง ขวดพลาสติก กับ 5 ข้อควรระวังที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้

แพคเกจจิ้ง ขวดพลาสติก เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสำเร็จของธุรกิจของคุณ มีขวดเครื่องสำอางและภาชนะบรรจุเครื่องสำอางมากมายในตลาด เพรานอกจากจะเป็น Packaging แล้ว ขวดเหล่านี้ยังมีบทบาททางการตลาดอีกด้วย นั่นจึงทำให้มันมีความสำคัญและเจ้าของแบรนด์จึงควรมีความพิถีพิถันในการเลือก โดยปัจจัยที่ต้องพิจารณานั้นก็มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือบรรจุภัณฑ์ชนิดพลาสติกที่ได้รับความนิยมอย่างมากมาย เพราะข้อดีและคุณสมบัติของมัน พร้อมทั้งราคาที่จับต้องได้นั่นเอง แต่เมื่อมีข้อดีและประโยชน์ แน่นอนว่าที่ตามมาอีกสิ่งคือข้อควรระวังในการเลือกนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์ ซึ่งข้อควรระวังที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง ในบทความนี้ Plastic Park รวบรวมข้อมูลมาฝากแล้วค่ะ

แพคเกจจิ้ง ขวดพลาสติก กับ 5 ข้อควรระวังที่เจ้าของแบรนด์ควรรู้

แพคเกจจิ้ง ขวดพลาสติก มีข้อดีแต่ก็มีข้อควรระวัง จะมีอะไรบ้างมาดูไปพร้อม ๆ กัน!

บรรจุภัณฑ์พลาสติก เป็นชนิดที่ถูกพบเห็นและทุกคนต่างเคยสัมผัสกันแล้วทั้งนั้น เนื่องจากตัวบรรจุภัณฑ์ชนิดนี้มีราคาที่ถูก และมีความแข็งแรงทำให้ถูกหยิบมาใช้ในหลาย ๆ ธุรกิจ โดยส่วนมากจะถูกนำไปใช้งานทำเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร, บรรจุภัณฑ์จำพวกขวดน้ำ และ บรรจุภัณฑ์สำหรับสกินแคร์ เครื่องสำอางต่าง ๆ เป็นต้น
บรรจุภัณฑ์พลาสติก เป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดเก่าแก่ที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติแบบเก่าจำพวกใบตองที่เป็นบรรจุภัณฑ์โบราณที่มีความแข็งแรง และคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ต่ำ โดยเริ่มแรกนั้นตัวบรรจุภัณฑ์พลาสติกสามารถตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม

พลาสติก คือ?

พลาสติกคือสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง ประกอบด้วยโมเลกุลซ้ำๆ กันต่อกันเป็นโมเลกุลสายยาวๆ ประกอบด้วยธาตุสำคัญ คือ คาร์บอน, ไฮโดรเจน, และออกซิเจน นอกจากนี้อาจมีธาตุอื่นๆเป็นส่วนประกอบย่อย ซึ่งได้แก่ ไนโตรเจน, ฟลูออรีน, คลอรีน, และกำมะถัน เป็นต้น พลาสติกเป็นวัสดุที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับชีวิต ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 เพื่อทดแทน วัสดุจากธรรมชาติ เช่น แก้ว ไม้ กระดาษ โลหะ ยาง ขนสัตว์

ประเภทบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

เป็นที่รู้กันดีว่า สินค้าแต่ละชนิดนั้นจะต้องถูกบรรจุอยู่ใน Packaging ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะสกินแคร์ที่มีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นสินค้าไลน์นี้จึงต้องมี Packaging หลาย ๆ แบบนั่นเองค่ะ เช่น

1. กระปุก

เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดปานกลางถึงมาก เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อครีม, เนื้อ Emulgel, สครับ หรือเนื้อทรีทเมนต์ วัสดุของกระปุกที่แนะนำจะเป็นพลาสติก และ อะคริลิคเป็นหลัก

2. ขวดดรอปเปอร์

เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดปานกลางถึงน้อย เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเซรั่ม หรือแอมพลู วัสดุส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติก และแก้ว

3. ขวดหัวปั้มมีสายหรือขวดปั้ม

เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดปานกลางถึงน้อย เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเซรั่ม หรือ เอสเซนต์ หากเป็นในกลุ่มผิวกาย ขวดหัวปั้มมีสาย จะเหมาะกับผลิตภัณฑ์จำพวกสบู่เหลว แชมพู ครีมนวด และโลชั่น วัสดุส่วนใหญ่ของขวดประเภทนี้จะเป็นพลาสติกโดยมาก ซึ่งจะมีต้นทุนที่ราคาถูกว่าบรรจุภัณฑ์ที่เป็นอะคริลิค หรือแก้ว

4. หลอด

 เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดปานกลาง ส่วนใหญ่จะเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มรองพื้น และกันแดด ซึ่งปัจจุบันนี้บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้จะมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งเป็นปากหลอดแบบธรรมดา หรือเป็นแบบหัวปั้ม airless ก็มีให้เลือก

5. ขวดหัวเหยาะ หรือขวดสเปรย์

ขวดหัวเหยาะ หรือขวดสเปรย์ : เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเนื้อที่มีความหนืดน้อยมาก จนถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นน้ำ ส่วนใหญ่จะเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์โทนเนอร์ น้ำแร่ เอสเซนต์ คลีนซิ่ง ซึ่งในกลุ่มนี้จะมีวัสดุให้เลือกลายแบบ ทั้งพลาสติก อะคริลิค หรือแม้กระทั้งขวดแก้ว

7 ชนิดของพลาสติกที่นำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์

โดยทั่วไปแล้ว พลาสติกนั้นสามารถแบ่งออกได้หลายชนิดด้วยกัน โดยสำหรับชนิดที่มักถูกนำมาใช้เพื่อทำเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าจะมีหลัก ๆ ทั้งหมด 7 ชนิดด้วยกันค่ะ คือ…

  •  PET / PETE /PE พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (Polyethylene Terephthalate) พลาสติกมีลักษณะ ใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี มองทะลุได้ เช่น ขวดน้ำเปล่า ขวดน้ำอัดลม ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น
  •  HDPE พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) บรรจุภัณฑ์พลาสติกสีขาวและสีอื่นที่เป็นสีทึบ ขวดชนิดนี้จะเหนียวและทนทานกว่า PET ยกตัวอย่างเช่น ขวดนม ขวดแชมพู ขวดน้ำยาปรับผ้านุ่ม ผลิตภัณฑ์ซักผ้า กระปุกยา เป็น
  • PVC โพลีไวนิล คลอไรด์ (Polyvinylchloride) เป็นวัสดุที่เป็นแบบแข็งหรือเป็นยาง นอกจากท่อพีวีซีที่ใช้เป็นอุปกรณ์ก่อสร้างแล้ว พวกของเล่นเด็ก ผ้าม่านห้องน้ำ แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู และหนังเทียม อีกด้วย ทั้งนี้ พลาสติกชนิดนี้มีข้อดีคือ มีความทนต่อน้ำมัน และกันกลิ่นได้ดี แต่ไม่ทนความร้อน
  • LDPE พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) เป็นฟิล์มพลาสติกที่ยืดหยุ่นได้ เช่น ถุงพลาสติกมีหูหิ้ว หลอดพลาสติก พลาสติกแรปห่ออาหาร เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน
  • PP พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เป็นพลาสติกชนิดที่ใช้มากที่สุดอีกชนิดหนึ่ง พลาสติกมีความทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมี น้ำมัน และ ปราศจากสาร BPA Free มีน้ำหนัก สามารถนำไปใช้ในไมโครเวฟได้ใช้ทำภาชนะ บรรจุอาหาร ถือว่า เป็นพลาสติก Food Grade ที่ มีความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้บรรจุ หรือสัมผัสกับอาหาร ไม่ทิ้งสารตกค้างเมื่อสัมผัสกับอาหาร เช่น กล่องใส่อาหาร ชาม จาน ถัง ตะกร้า กระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์
  • PS พอลิสไตรีน (Polystyrene) เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่าย ควรหลีกเลี่ยงในการใช้งาน เพราะย่อยสลาย และรีไซเคิลได้ยาก ตัวอย่างสินค้าที่ใช้พลาสติกชนิดนี้ เช่น แก้วน้ำชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง แผ่น CD/DVD กล่องอาหาร กล่องโฟม แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่
  • อื่นๆ (Other) ซึ่งไม่ได้ระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่เป็นพลาสติกที่นำมา หลอมใหม่ได้ อาจเป็นได้ทั้ง Poly Cabonate (pc) , Tritan (Copolyester) และอื่นๆ

5 ข้อควรระวังของการเลือกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางชนิดพลาสติก

แม้จะเป็นวัสดุของบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมจากหลาย ๆ แบรนด์ แต่แพคเกจจิ้งเครื่องสำอางรูปแบบเนื้อพลาสติกนั้นก็มีข้อควรระวังในการเลือกนำมาใช้เช่นเดียวกัน หลัก ๆ จะประกอบด้วย 5 ข้อ ดังนี้…

  1. บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางชนิดพลาสติกหรูหราน้อยกว่าบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบแก้วและบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบไม้
  2. บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางมีความทนทานต่อการเจาะทะลุไม่ได้มาก
  3. บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบพลาสติกที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน
  4. การใช้พลาสติกชนิดสลายตัวได้แต่ยังคงมีใช่ในวงจำกัดและพลาสติกชนิดนั้นมีคุณสมบัติที่ด้อยลง การบรรจุหีบห่อน้อยลง เช่น มีความยืดตัวและต้านแรงกระทบกระแทกต่ำ กันความขึ้นได้ไม่ดีและมีความหนาจำกัด
  5. มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น กรณีของการบรรจุสินค้าประเภทอาหารทางเลือกใช้ประเภทของพลาสติกไม่เหมาะสมหรือม่งลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจ ก่อให้เกิดปัญหาความปลอดภัยของผู้บริโภคเพราะจะมีการปนเปื้อนของสารเคมีต่างๆ ออกมาได้
อย่างไรก็ตาม พลาสติกข้อดีหลัก ๆ คือ มีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทำใรักษาสภาพสินค้าได้ดี ราคาถูกและสามารถพิมพ์สีลวดลายลงพลาสติกได้ง่าย ทำให้สินค้ามีความน่าซื้อมากขึ้น แต่ก็มีข้อเสียที่สำคัญมากคือ การย่อยสลายยาก ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา ขยะพลาสติกปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคต้องช่วยเหลือกันใช้ลดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้มากที่สุด รวมทั้งเลือกใช้พลาสติกชนิดรีไซเคิลได้ ก็จะช่วยให้แบรนด์ของคุณตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มรักษ์โลกมากขึ้นด้วย

Plastic Park ขายส่งบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง ขวดปั๊ม กระปุกครีม หลอดครีม พร้อมพิมพ์ไม่จำกัดสี

พลาสติกพาร์ค เราเป็นตัวแทนจำหน่ายและนำเข้าบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์ทุกชนิด เช่น กระปุกครีม หลอดครีม ขวดครีม หัวปั้ม หัวสเปรย์ เรามีรูปแบบของบรรจุภัณฑ์หลากหลายกว่า 1,500 รายการ จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง ด้วยราคาจากโรงงานโดยตรง ทั้งนี้ เรามีรูปแบบของสินค้าให้เลือกมากมายกว่า 1,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็น บรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง /ขวดพลาสติก/ขวดเครื่องสำอาง / กระปุกครีม / ขวดเซรั่ม /กระปุกสครับ /ตลับครีม / ขวดอโรม่า ฯลฯ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่จะนำไปต่อยอดสินค้าของแต่ละท่าน เพื่อสร้างความน่าสนใจ และเพิ่มมูลค่าของสินค้าที่อยู่ด้านในได้อย่างลงตัว เราเชื่อว่า หากลูกค้าได้ข้อมูลที่เพียงพอ จะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ถูกต้อง ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับสินค้า และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้าได้

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เกณฑ์การเลือกบริษัทบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์ที่เชื่อถือได้

3 สิ่งควรรู้ก่อนสั่งทำบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง

เลือกใช้กระปุกบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางแบบไหนดีนะ ?